การตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณการใช้ไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างมาก ในการช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ทราบถึงการใช้พลังงาน ดังนั้นวิธีการตรวจวัดและเครื่องมือให้สัมพันธ์กับระบบพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องและเหมาะสม จนสามารถนํามาวิเคราะห์ผลและกําหนดมาตรการการอนุรักษ์พลังงานทำได้ดังนี้
- การสำรวจ เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงลักษณะการใช้พลังงานและลักษณะของกระบวนการการผลิต รวมทั้งชนิด ขนาด จำนวน และสภาพของระบบ วัสดุและอุปกรณ์ที่ได้ทำการสำรวจ เป็นต้น
- การตรวจวัด เพื่อให้ทราบถึงสภาพการใช้พลังงาน สภาพการทำงานและการสูญเสียพลังงานของระบบและอุปกรณ์ที่ทำการตรวจวัด
- การเก็บข้อมูล หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานเช่นข้อมูลและสถิติการใช้พลังงานประวัติการทำงานการซ่อมแซมและการปรับปรุงที่ผ่านมารวมทั้งชนิดลักษณะหรือคุณลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตต่างๆที่อยู่ในข่ายของการตรวจสอบ เป็นต้น
การตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้า
มีความสําคัญมาก ซึ่งจะช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร ทราบถึงการใช้พลังงานและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มีขั้นตอนและวิธีการตรวจวัดต้องเริ่มจาก การรู้จักเครื่องมือวัดและวิธีการใช้งาน การอ่านค่าที่ถูกต้อง แล้วนําค่าที่ได้มารวบรวมและวิเคราะห์ผล
การใช้มิเตอร์วัดไฟฟ้าที่ถูกต้อง
- ตรวจสอบย่านการตรวจวัด กระแสหรือแรงดันให้ถูกต้อง เช่น กรณีต้องการตรวจวัดค่ากระแสสลับ 43 แอมป์ ก็ควรปรับตั้งย่านการตรวจวัดให้อยู่ในช่วง 0-100 แอมป์เพื่อให้ได่ค่าที่ถูกต้อง
- ตรวจสอบตัวแปรอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงของภาระหรือความเร็วรอบจะมีผลต่อค่าที่ได้จากการ ตรวจวัด ในระหว่างการวัด จะต้องคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของภาระของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะทําให้ค่าที่ตรวจวัดแตกต่างไปจากค่า พิกัด
- ตรวจสอบว่าอุปกรณ์มีการบํารุงรักษาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ
การเลือกเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่เหมาะสม
เนื่องจากเครื่องมือวัดไฟฟ้ามีหลายขนาดและมีวิธีใช้ที่แตกต่างกันและใช้ในการตรวจวัดตัวแปรหลาย ดังนั้นจึงเป็นการยากและมีค่าใช้จ่ายสูงที่จะเลือกเครื่องมือที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม มีกฎเบื้องต้น สําหรับการปฏิบัติ เพื่อให้ได้ผลการตรวจวัดที่ถูกต้อง ดังนี้
- ควรติดตั้งมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าสําหรับการตรวจวัดที่มีตําแหน่งตายตัว ไม่เคลื่อนย้ายบ่อย
- เครื่องมือแบบคล้องวัดจะมีความเหมาะสม และมีความสะดวกสําหรับการวัดที่มีความถี่ไม่บ่อยนัก